ข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the knee )

เกิดจากการเสื่อมและการฉีกขาดของข้อ เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ และกระดูกผิวข้อต่อมีการเสียดสีกัน ส่งผลให้มีอาการปวดบวม การเคลื่อนไหวของข้อลดลง หรือมีกระดูกงอกบริเวณข้อ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด แม้ในคนอายุน้อยหากมีปัจจัยเสี่ยงก็สามารถเกิดอาการได้ แต่ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอากาiหลังอายุ 45 ปี และเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะมีโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 

 
โรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการดังนี้ !
-เจ็บปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการใช้งาน และอาการปวดลดลงเมื่อได้พัก 
-มีอาการบวม 
-ร้อนบริเวณข้อ 
-ตึงบริเวณข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้า หรือในขณะนั่ง 
-การเคลื่อนไหวของข้อลดลง เคลื่อนไหวลำบาก 
-ได้ยินเสียงจากเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของ
 

สาเหตุการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม 

อายุ : ส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนตามวัย

น้ำหนัก : การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น จะเพิ่มแรงกดที่ผิวเป็น 3 – 4 เท่าที่เข่ารับน้ำหนักไว้

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม : แนวโน้มที่จะพัฒนาโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากนี้ยังอาจเกิดความผิดปกติรูปร่างของกระดูกบริเวณรอบข้อ

เพศ : เพศหญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มมากกว่าเพศชายในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อ : ส่วนมากเป็นผลมาจากประเภทของงานและการประกอบอาชีพที่มีแรงกดของข้อ โดยคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือยกของที่น้ำหนักมาก  (55 ปอนด์หรือมากกว่า) มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

นักกีฬา : ประเภทฟุตบอล เทนนิสหรือนักวิ่งทางไกล อาจจะมีความเสี่ยงสูงในการพัฒนาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งนักกีฬาควรใช้ความระมัดระวังในการออกกำลังกายเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ เมื่อกล้ามเนื้อรอบเข่าบาดเจ็บสามารถนำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อมได้

การเจ็บป่วยอื่นๆ : ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้ที่มีความผิดปกติของการเผาผลาญบางอย่าง เช่น ธาตุเหล็กเกินหรือฮอร์โมนการเจริญเติบโตมากผิดปกติจะมีความเสี่ยงที่สูงที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

 

การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการตรวจร่างกาย ซักประวัติสอบถามอาการ เพื่อยืนยันตำแหน่งที่ปวดและสาเหตุของอาการปวด ซักประวัติเกี่ยวกับบุคคลในครอบครัวเป็นที่เป็นโรคข้ออักเสบ และแพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การเอกซ์เรย์ สามารถแสดงความเสื่อมของกระดูกและกระดูกอ่อน 

  • การเอกเรย์ด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) แพทย์จะสั่งเมื่อการเอกเรย์เห็นผลที่ไม่ชัดเจนในการบ่งบอกถึงพยาธิสภาพของข้อ และแพทย์อาจมีการตรวจเลือดเพื่อหาผลควบคู่ไปด้วย เช่น โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน

 

 
 วิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
-การลดน้ำหนัก ช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม 
-การออกกำลังกายแบบยืดเหยียด ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่า และบรรเทาความเจ็บปวด และมีการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
-บรรเทาอาการปวดด้วยยา เช่น  Acetaminophen , Brufen , Naproxen และไม่ควรรับประทานติดต่อกันมากกว่า10 วัน หรือควรรับประทานตามที่แพทย์สั่ง 
-การฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์ หรือกรดไฮยาลูโรนิกเข้าข้อเข่า เป็นยาต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มน้ำหล่อลื่นในข้อ 
-การรักษาแบบทางเลือก เช่น อาหารเสริม ฝังเข็ม หรือรวมทั้งการใช้กลูโคซามีน  
-ใช้อุปกรณ์พยุงเข่าช่วยบรรเทาอาการปวด และลดแรงกดบริเวณข้อ 
-กายภาพบำบัด เพื่อเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อลดผลกระทบในการทำกิจวัตรประจำวัน 
 -การผ่าตัด หากการรักษาเบื้องต้นไม่ได้ผล
 

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

การส่องกล้อง Arthroscopy การใช้กล้องขนาดเล็กและเครื่องมือขนาดเล็กอื่น ๆ ในการผ่าตัดผ่าตัดซึ่งจะเกิดแผลขนาดเล็ก ศัลยแพทย์ใช้ กล้อง เพื่อผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย


การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก แพทย์จะทำการผ่าตัดและปรับให้กระดูกเอียงกลับมาในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อลดแรงผ่านข้อด้านที่มีการสึกมากกว่า 


การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ชิ้นส่วนข้ออาจเป็นโลหะหรือพลาสติก และการเปลี่ยนอาจอาจทำด้านใดด้านหนึ่งของข้อเข่าหรือทั้งเข่า การผ่าตัดจะแนะนำสำหรับผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรง การผ่าตัดอาจจะต้องมีการทำซ้ำในภายหลังได้ แต่ปัจจุบันความก้าวหน้าทันสมัยข้อต่อใหม่ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 20 ปี 

 

Visitors: 81,490