นิ้วล็อค ภัยเงียบยุคออนไลน์

โรคนิ้วล๊อคคือภาวะที่นิ้วมือติดอยู่ในท่างอ หรืออาจมีการติดขัดระหว่างการเหยียดงอนิ้ว

นิ้วล๊อคสามารถเกิดได้กับทุกนิ้ว และอาจเกิดหลายๆนิ้วพร้อมๆกันได้ หรือเกิดในมือทั้งสองข้างพร้อมๆกัน อาการจะรุนแรงในตอนเช้าโดยเฉพาะเมื่อกำของแน่นๆ หรือพยายามเหยียดนิ้วมือ

 

สาเหตุ

เส้นเอ็นปกติถูกล้อมรอบด้วยปลอกหุ้มเอ็นที่ทำหน้าที่ ให้สารอาหารและป้องกันการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหากเกิดการอักเสบทำให้การเคลื่อนที่ของเส้นเอ็นผ่านปลอกหุ้มเอ็นเหล่านี้เกิดการติดขัด การอักเสบที่ยาวนานทำให้เกิดพังผืด และ การหนาตัวของเส้นเอ็นเกิดเป็นปมขึ้นมา ซึ่งปมเหล่านี้จะขัดปลอกหุ้มเอ็นทำให้ขัดขวางการเคลื่อนไหว

 

อาการ

-นิ้วติดแข็งโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน มีอาการติดขัดระหว่างการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ

-กดเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ ทางด้านฝ่ามือ

-นิ้วติดล๊อคในท่างอและไม่สามารถเหยียดตรงได้

 

ปัจจัยเสี่ยง

-การทำงานที่ต้องกำมือบ่อยๆ

-เป็นเบาหวานหรือข้ออักเสบรูมาตอยด์

-เพศหญิง

-ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดพังผืดกดเส้นประสาทที่ข้อมือ

 

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยอาศัยการซักประวัติตรวจร่างกาย โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยเหยียดงอนิ้วเพื่อดูการติดขัดของการเคลื่อนไหว และกดดูหาจุดกดเจ็บ และคลำเพื่อหาปมของเส้นเอ็น

การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงสามารถเห็น ตำแหน่งของปมเส้นเอ็นและตำแหน่งที่มีการขัดขวางการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนช่วยยืนยันการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ

 

การรักษา

การรักษามีหลายวิธีขึ้นกับความรุนแรงของโรค หากมีเพียงอาการปวดและการอักเสบ อาจรับประทานยาลดการอักเสบ ร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์นิยมได้แก่

  1.  การพัก- การหลีกเลี่ยงการกำมือแน่นๆ บ่อยๆ หรือการใช้เครื่องมือที่มีการสั่นสะเทือน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้อาจพิจารณาใส่ถุงมือหรือ แผ่นยางป้องกัน
  2.  การใส่เครื่องพยุง- การใส่อุปกรณ์พยุงให้นิ้ว เหยียดตรงขณะนอนหลับ เพื่อพักเส้นเอ็นที่มี การอักเสบ
  3.  การออกกำลังกายด้วยการยืด- การออกกำลังกายด้วยการเหยียดนิ้วโดยเฉพาะในน้ำอุ่น สามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ ได้ทางหนึ่ง

 

การฉีดยาและการผ่าตัด

  1.  การฉีดยาลดการอักเสบ- การฉีดยาลดการอักเสบเข้าสู่ปลอกหุ้มเอ็น สามารถลดอาการปวดและการอักเสบได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นดีขึ้น การฉีดยาอาจให้ผลการรักษาที่ดียาวนานหลายปี และสามารถฉีดได้หลายครั้งอย่างปลอดภัย แต่ต้องทำภายใต้แพทย์กระดูกและข้อผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  1.  การผ่าตัด- หากการฉีดยาไม่ได้ผลหรือนิ้วมีการล๊อค อย่างรุนแรงจนไม่สามารถใช้งานได้ การผ่าตัดเป็นทาง เลือกที่จำเป็นโดยจะลงแผลเล็กขนาด เพียง 1.5 ซม. บริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือ เพื่อตัดปลอกหุ้มเอ็นที่ ขัดขวางการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นที่เป็นปมออก

 

 

 

Visitors: 91,867