ไหล่ติด
โรคไหล่ติด (Frozen Shoulder)
โรคไหล่ติดเป็นความผิดปกติของข้อไหล่ที่จะมีข้อไหล่ติดแข็งและปวด อาการมักค่อยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆและสามารถดีขึ้นได้เอง
หากเวลาผ่านไปหนึ่งถึงสามปี
ความเสี่ยงของการเกิดโรคไหล่ติดจะมากขึ้นหากท่านมีภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้ท่านขยับข้อไหล่น้อยลง เช่น ภาวะเส้นเลือดสมองตีบตัน หรือหลังการผ่าตัดเต้านม
อาการ
อาการของโรคข้อไหลติดแบ่งเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะอาจกินเวลาหลายเดือน ได้แก่
1.ระยะที่มีการอักเสบ: ระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ข้อไหล่เมื่อขยับ ทำให้การเคลื่อนไหวเริ่มทำได้น้อยลง
2.ระยะข้อติดแข็ง: ระยะนี้อาการปวดจะดีขึ้น แต่การเคลื่อนไหวของข้อจะลดลงอย่างมาก การใช้ชีวิตประจำวันจะเป็นไปอย่างยากลำบาก
3.ระยะคลายตัว: การเคลื่อนไหวของข้อจะค่อยๆทำได้มากขึ้นอย่างช้า
ในผู้ป่วยบางรายอาการปวดอาจมากขึ้นในช่วงกลางคืนทำให้ตื่นกลางดึกและรบกวนการนอนได้
สาเหตุ
ข้อไหล่ประกอบไปด้วยกระดูก เส้นเอ็น ที่หุ้มทำให้ข้อไหล่มีลักษณะเป็นแคปซูล โรคข้อไหล่ติดเกิดจากแคปซูลนี้เกิดการหนาตัวและรัดแน่น ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อ
ความเสี่ยง
1.อายุ: อายุมากกว่า 40 ปีมีโอกาสเกิดโรคข้อติดแข็งมากขึ้นโดยเฉพาะผู้หญิง
2.ภาวะที่ทำให้การเคลื่อนไหวของขอ้ไหล่ลดลลง เช่น เอ็นหัวไหล่บาดเจ็บ, แขนหัก
3.โรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน, ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำหรือสูง, โรคหัวใจ, พาร์คินสัน
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยตรวจพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ หรือ ร่วมกับการทำ เอกซเรย์หรือ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การรักษา
การรักษาประกอบไปด้วยการให้ยาลดอาการปวดร่วมกับการเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
1.ยา: แพทย์อาจให้ยาแก้ปวดกลุ่มลดการอักเสบ
2.กายภาพบำบัด: นักกายภาพบำบัดหรือแพทย์จะสอนท่าในการเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ เช่นการแกว่งแขนหรือท่าไต่กำแพง
3.การฉีดยาลดการอักเสบเข้าข้อไหล่: การฉีดยาสามารถลดอาการปวดและเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของโรค
4.การดัดไหล่: การดัดไหล่จะทำภายใต้การดมยาสลบ เพื่อสลายพังผืดที่ยึดเกาะขัดขวางการเคลื่อนไหว